(สำรับภาษาไทยกรุณาอ่านด้านล่าง)
You could hear a pin drop.
It was an annual gathering at my martial arts school and my master was giving a lesson to his best student, who runs a branch martial arts gym in another province, while the rest of us watched. As I sat there, soaking in the lesson, I took a moment to really see the whole scene:
The best student, in front of his students from his gym, learning new things from the master. Being thrown to the floor over and over again. Helpless. There was no ego, just learning. No fear of looking like he didn’t know what he’s doing in front of his students. He was just a sponge, absorbing the learning to take away and apply when he works on the new things later.
And that was when it occurred to me how rare this is. Beyond the super coolness of the martial arts techniques the master was sharing, this lack of ego and willingness to learn while being tossed around like a toy is another lesson in itself.
As adults, I feel the ego struggle is both acutely real and interconnected with so many things. And it is why we so often struggle with a beginner’s mind, or child mind, approach to learning new things - or even building on our existing knowledge and improving our skills. So often we don’t do something, don’t try something, or don’t learn something for fear of looking stupid. Our ego holds us back. It builds up the idea that we are accomplished adults who must succeed and achieve, or at least that we must always appear that way on the outside. Then it has difficulty being patient when we try something new and aren’t immediately good at it, when we must slowly build our skill, learning and failing in full view of others.
Where does this expectation come from? How do we become socialized to believe we must always appear knowledgeable and skilled and that showing our learning process is somehow shameful?
I spend a lot of time in the front of rooms of people doing facilitation and training. The approach I take, regardless of the topic or participants, is more elicitive than prescriptive. That means I enter the room believing that there is knowledge already there and that my job is to help the participants pull it out and do something with it. The amount to which I add in my own experience or examples from outside the group depends on the nature of the event. Regardless, it’s not about me at all. While I may spend significant time in front of the room, I am not the one with the answers.
Along the way as I facilitate or train, I see a lot of egos rise and fall, including my own. It is a set of subtext to human interaction. I work to give my ego the day off because I’m there to help others succeed. Simultaneously, I watch the egos of the participants as they alternately swell when they are proven right or bristle when someone “instructs” them, regardless of the intention of the comment. And then I wrestle again with my own ego as it bristles when participants’ egos attempt to re-inflate themselves by deflating me. Thus, managing egos, both ours and those around us, becomes something we all find ourselves dealing with as subtext to human interaction. And as I seek balance in this, I frequently remember that scene in my martial arts gym:
The best student, thrown down over and again. Getting up every time eager for more. Because it’s about the learning, growing his skills, deepening his understanding of his art, and the precious opportunity to get instruction directly from the master.
And if others think that makes him look weak, they need to check their egos and re-evaluate. Because, actually, it is what makes him strong … and the best student.
อัตตาและการเรียนรู้
ในงาน ไหว้ครูประจำปีที่โรงเรียนศิลปะการต่อสู้ของฉัน ครูใหญ่ของพวกเราให้ข้อคิดแก่ศิษย์ที่เก่งที่สุด ซึ่งเปิดโรงเรียนศิลปะการต่อสู้ในอีกจังหวัดหนึ่ง พวกเราที่เหลือนิ่งฟัง ขณะที่ฉันนั่งอยู่ตรงนั้น ซึมซับบทเรียน ฉันใช้ช่วงเวลานั้นทำความเข้าใจภาพจริงเบื้องหน้า
ศิษย์ที่เก่งที่สุดกำลังเรียนรู้บทเรียนใหม่ๆ จากครู ต่อหน้านักเรียนของเขาเอง เขาถูกทุ่มลงกับพื้นครั้งแล้วครั้งเล่า พ่ายแพ้ย่อยยับ ไม่มีอัตตาหลงเหลืออยู่ มีเพียงการเรียนรู้ ไร้วี่แววของความหวาดกลัว ราวกับว่า ศิษย์เก่งคนนั้นไม่ตระหนักเลยว่า เขากำลังอยู่ต่อหน้านักเรียนของเขาเอง ราวกับฟองน้ำขณะที่เขาซึมซับบทเรียนบทใหม่เพื่อนำไปใช้ภายหลัง
และนั่นเอง ฉันได้ตระหนักว่า ช่วงเวลาเช่นนี้เกิดขึ้นน้อยเพียงใด เหนือไปกว่าเทคนิคศิลปะป้องกันตัวไร้ที่ติที่ครูแบ่งปันกับพวกเราคือ ความไร้อัตตาและความปรารถนาจะเรียนรู้ขณะที่ถูกโยนไปรอบห้องเหมือนของเล่นคือบทเรียนบทหนึ่งในตัวมันเอง
ในการเป็นผู้ใหญ่ การต่อสู้กับอัตตาเป็นความจริงที่ชีวิตต้องเผชิญ การต่อสู้เหล่านี้เกิดขึ้นหลายต่อหลายครั้งและเกี่ยวข้องกับหลายสิ่งหลายอย่างในชีวิต ซึ่งตอบคำถามหนึ่งว่า ทำไมในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือแม้กระทั่งพัฒนาความรู้ขึ้นจากความรู้และทักษะเดิมที่มีอยู่นั้น คนเรามักติดหล่มอยู่กับความรู้สึกแบบคนที่กำลังเริ่มต้น หรือความรู้สึกแบบเด็กๆ บ่อยครั้งที่เราไม่ทำอะไร ไม่พยายามลองสิ่งใหม่ๆ หรือไม่เรียนรู้อะไรเพราะกลัวการถูกมองว่า เป็นคนงี่เง่า อัตตาของเราเหนี่ยวรั้งเราเอาไว้ และสร้างกรอบคิดที่ว่า ในการเป็นผู้ใหญ่เต็มตัว เราต้องประสบความสำเร็จ หรืออย่างน้อยเราอยากให้คนอื่นเห็นว่า เราประสบความสำเร็จ ซึ่งนั่นทำให้เรารู้สึกว่า การอดทนเพื่อพยายามทำสิ่งใหม่ๆ เป็นเรื่องยากและไม่ใช่เรื่องดีนัก ขณะที่เราต้องการเวลาสร้างทักษะใหม่ เรียนรู้สิ่งใหม่ เรารู้สึกว่าคนอื่นกำลังมองว่า เราล้มเหลว
แล้วความคาดหวังเช่นนี้มาจากไหน เราถูกสร้างหรือถูกสอนมาอย่างไรถึงได้เชื่อว่า เราจะต้องดูดีมีความรู้และเชี่ยวชาญตลอดเวลา ขณะเดียวกัน การเปิดเผยให้เห็นว่า เรากำลังอยู่ในขั้นตอนการเรียนรู้เป็นเรื่องน่าละอาย
เพราะเป็นวิทยากร ฉันใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่หน้าห้องต่อหน้าผู้คนมากมาย แนวทางหนึ่งที่ฉันใช้ไม่ว่าหัวข้อเป็นเรื่องอะไรหรือผู้เข้าร่วมเป็นใครก็ตามคือ การปลุกเร้าจิตใจแทนที่การบรรยาย ซึ่งหมายความว่า ฉันเดินเข้าไปในห้องเรียนด้วยความเชื่อมั่นว่า ความรู้อยู่ที่ผู้เข้าร่วมและหน้าที่ของฉันคือ อำนวยกระบวนการให้ผู้คนดึงความรู้ออกมาและลงมือทำอะไรสักอย่างกับสิ่งนั้น ส่วนจะพูดถึงประสบการณ์ของตัวเองหรือยกตัวอย่างอื่นๆ ประกอบขึ้นอยู่กับลักษณะกิจกรรม มิพักต้องพูดว่า การเอื้ออำนวยกระบวนการไม่เกี่ยวกับตัวฉันเลยสักนิด เพราะขณะที่ฉันยืนอยู่หน้าห้อง ฉันไม่ได้เป็นผู้ชี้นำคำตอบใดๆ
ตลอดเส้นทางการทำหน้าที่นำกระบวนการ ฉันได้เห็นอัตตาเกิดขึ้นและดับลง ซึ่งรวมทั้งอัตตาของฉันเองด้วย นี่คือสิ่งที่ซุกซ่อนอยู่ในปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ ฉันพยายามให้อัตตาของตัวเองหลบไปพักเพราะงานของฉันคือเอื้ออำนวยให้ผู้ร่วมกิจกรรมพบความสำเร็จ ขณะเดียวกัน ฉันเฝ้ามองอัตตาของพวกเขาผุดพุ่งขึ้นเมื่อพวกเขาเป็นฝ่ายถูก หรือเมื่อรู้สึกว่าถูก “สั่งสอน” ไม่ว่าเป้าหมายของ “การสั่งสอน” จะเป็นอย่างไรก็ตาม ซึ่งฉันก็ต้องต่อสู้กับอัตตาของตัวเองด้วยเช่นกันในยามที่มันเป่งพองขึ้นเมื่อมีอัตตาของผู้ร่วมกิจกรรมพยายามกดทับมัน ซึ่งการจัดการอัตตา ทั้งของตัวเองและของคนอื่นๆ ที่อยู่รายรอบเป็นเรื่องที่เราต้องหาหนทางเอาเองในฐานะส่วนหนึ่งของปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ และทุกคราวที่ฉันหาสมดุล ฉันมักระลึกถึงภาพในชั้นเรียนศิลปะการต่อสู้นั้น
ศิษย์ที่เก่งที่สุดถูกเหวี่ยงลงพื้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า แล้วก็ลุกขึ้นด้วยใจจดจ่อครั้งแล้วครั้งเล่า เพราะนี่คือการเรียนรู้ การเพิ่มพูนทักษะ การทำความเข้าใจลึกซึ้งถึงความสามารถของตัวเอง และคือโอกาสอันมีค่ายิ่งที่ได้เรียนรู้จากครูโดยตรง
และหากมีคนคิดว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้เขาดูพ่ายแพ้ คนคนนั้นจำต้องตรวจสอบอัตตาของตัวเองเสียใหม่ เพราะ แท้จริงแล้ว สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เขาแข็งแกร่งขึ้น...และกลายเป็นนักเรียนที่เก่งที่สุด